Rating

Mythology Greek : The Olympians

The Olympians
เทพโอลิมปัส

       สภาเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเหล่าทวยเทพสูงสุดตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ  มีทั้งหมด 12 องค์ สถิตย์อยู่ ณ เขาโอลิมปัส ซึ่งเป็นเขาที่มีอยู่จริงในประเทศกรีซ โดยเป็นเขาที่สูงสุดในกรีซ



Zeus
เทพเจ้าซุส 




              เทพซูส เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครองเขา โอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของ ตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก นามของซีอุสแปลว่าความสว่างของท้องฟ้า  นามของพระองค์ในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และนามในตำนานอีทรูสแคนคือเทพไทเนีย (Tinia)


              พระองค์เป็นพระโอรสองค์สุดท้องของ โครนัส (Cronus) และ รีอา(Rhea) ซึ่งเป็น เทพไททัน ในหลายๆ ตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้สมรสกับ เทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมืองดอโดน่า (D0d0na) ที่อ้างว่าคู่สมรสของเทพซูสแท้จริงแล้วคือ เทพีไดโอนิ  (Dione) นอกจากนี้ มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่าเทพซูสเป็นพระบิดาของ เทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย เทพซูสมักมีชื่อเสียงในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มนาม แกนีมีด (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์และหลายคนด้วยกัน อาทิเช่น    เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล (Apollo) และ เทพีอาร์ทีมีส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes) เทพีเพอร์ซิโฟเน่ (Persephone)  เทพไดโอไนซัส(Dionysus)  วีรบุรุษเพอร์ซิอุส (Perseus) วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส (Hercules)  เฮเลนแห่งทรอย (Helen)  กษัตริย์ไมนอส  (Minos) และเหล่า  เทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสายที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรงได้แก่ เทพเอรีส (Ares)  เทพีเฮบี (Hebe) และเทพ  เอฟเฟสตตุส (Hephaestus)   เทพีเอริส (Eris) และ เทพีไอไลธีเอีย  (Eileithyia)






Poseidon
เทพโพไซดอน

                โพไซดอน หรือ โพเซดอน หรือ โปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีตรีศูเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา  นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหวและเป็นเทพแห่งม้าด้วย

                ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครนัส กับรีอา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 5 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมเปียนทั้งสิ้น ได้แก่เฮสเทีย  เทพีแห่งเตาผิง ผู้ดูแลครัวเรือน

ดีมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตรเฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรสฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก  ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส

                รูปลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮรา และ อะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกันโพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่งคือแอมฟิไทรท์ ซึ่งเป็น นีริอิด หรือบุตรสาวของ นีริอัส และ ดอริสโพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้สมุทร


                ชายาอีกองค์หนึ่งของโพไซดอนเป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย


                โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเลในสมัยโบราณ ที่แหลมสุนิอ้อน ห่างจาก กรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซไม่มาก มีวิหารที่สร้างถวายแด่โพเซดอนอยู่


  Demeter
เทพีดิมิเทอร์ 


                ดิมีเทอร์ เป็นธิดาองค์ที่2 ของโครนัส และรีอา นางเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และการเก็บเกี่ยว นางมักจะปรากฏตัวพร้อมกับดอกไม้ ผลไม้ และเมล็ดธัญญาหาร ต่อมาได้เป็นชายาของเทพซูส และมีธิดา คือ เพอร์เซโฟเน เทพธิดาแห่งฤดูใบไม้ผลิ เมื่อเพอร์เซโฟเนถูกฮาเดส จับตัวไปนางโศรกเศร้ามากพืชผลไม่ผลิดอกงอกงาม นั่นก็คือต้นกำเนิดของฤดูหนาว เชื่อกันว่านางได้สอนให้ชาวกรีกโบราณรู้จักศิลปะของการปลูกพืชผล เพื่อพวกเขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเพาะปลูกและมีอารยธรรมขึ้นมา



             เจ้าแม่ดีมิเตอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า  โพรสเสอพิน (Proserpine) หรือ เพอร์เซโฟนี (Persephone) เป็นเทวีครองฤดูผลิตผลของพืชทั้งปวง เพื่ออธิบายธรรมชาติของการผลัดฤดู กวีกรีกโบราณจึงผูกเรื่อง ให้เทวีองค์นี้ถูกฮาเดสลักพาตัวไปเป็นคู่ครองในยมโลก ดังมีเรื่องพิสดารดังนี้

                ฮาเดสปกครองยมโลกอยู่คนเดียว โดดเดี่ยวไร้คู่ปฏิพัทธ์มาเป็นเวลานาน หามีเทวีองค์ใดไยดีที่จะร่วมเทวบัลลังก์กับเธอ  เทวีแต่ละองค์ที่เธอทอดเสน่หา  ต่างองค์ต่างก็ไม่สมัครรักใคร่เธอ  ด้วยไม่ปรารถนาจะลงไปอยู่ในใต้หล้าแดนบาดาล  อันดวงสุริยาไม่สามารถทอแสงลงไปถึง  ทำให้เธอมึนตึงหมางหทัยนัก  ในที่สุดจึงต้องตั้งปณิธานจะไม่ทอดเสน่หาใครอีกเป็นอันขาด  หากปฏิพัทธ์สวาทกับใคร ก็จะฉุดคร่าพาเอาลงไปบาดาลดื้อ ๆ


                 วันหนึ่งเพอร์เซโฟนีพร้อมเพื่อนเล่นทั้งมวลชวนกันลงเที่ยวสวนดอกไม้  เที่ยวเด็ดดอกไม้อันจรุงกลิ่น  สอดสร้อยร้อยมาลัยอยู่เป็นที่สำราญ  บังเอิญฮาเดสขับรถทรงแล่นผ่านมาทางนั้น  ได้ยินสรวลสรรหรรษาร่าเริงระครเสียงขับร้องของ  เหล่านางอัปสรสาวสวรรค์ลอยมา  เธอจึงหยุดรถทรงลงไปเยี่ยมมองทางช่องสุมทุมพุ่มไม้ ครั้นพบเทวีรุ่นสะคราญทรงโฉม วิลาสลิไลนักให้นึกรักจะเอาไปไว้ในยมโลก  เธอจึงก้าวกระชากชิงอุ้มเพอร์เซโฟนีเทวีขึ้นรถไปในทันที 






Hera
เทพีเฮรา 
                ฮีรา หรือ เฮรา  เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูส พระนางเป็นเทพีแห่งหญิงสาวและชีวิตสมรส เป็นผู้ปกป้องสตรีที่แต่งงานแล้ว พระนางทรงประทับบนพระบัลลังก์ทองคำเคียงข้างซูสบนภูเขาโอลิมปัส และทรงพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ใส่พระทัยกับเรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมของสวามี ฮีราได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพธิดาผู้มีพระกรใสกระจ่างดุจงาช้าง ในตำนานโบราณสัตว์ประจำองค์ของเทพีฮีราคือวัว แต่ในตำนานยุคใหม่นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ และจะตามเสด็จอยู่ไม่ห่าง


                เทพีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกเทพีฮีราปองร้ายมีมากมาย เช่น เทพีลีโต มารดาของเทพอพอลโล่ และ เทพีอาร์ทีมิส เฮอร์คิวลิส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดโอนิซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม





Ares
เทพเจ้าแอรีส 
                แอรีส  หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และ เป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ด้วย  แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า


                แอรีสเป็นบุตรของซีอุส มหาเทพและพระนางเฮรา มเหสีของซีอุส แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุาษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง


                แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของรอมิวลุส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว

                ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพีอโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่แอรีส เมื่อเสด็จไปไหน จะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟมอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่าความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมาร์ส คือ ดาวอังคาร ดีมอส  และโฟบอส  ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดาวอังคารด้วย





Apollo
เทพเจ้าอพอลโล 


               อพอลโล (Apollo) เทพคู่แฝดผู้น้องของเทวีอาร์เตมิส คือเทพครองดวงอาทิตย์ ซึ่งภายหลังชาวกรีกและโรมันถือว่า เป็นดวงอาทิตย์ทีเดียว เหมือนอย่างที่ถืออาร์เตมิสเป็นดวงจันทร์ฉันนั้น ในชั้นดั้งเดิมสุริยเทพของกรีกคือ ฮีลิออส(Helios) ซึ่งเป็นบุตรของโอเพอร์เรียน (Hyperion) ในคณะเทพไทแทน แต่เมื่อคณะเทพไทแทนสิ้นอำนาจ ชาวกรีกจึงนับถือเทพ อพอลโลแทนสืบต่อมา เมื่อนาง แลโตนา มารดาของอพอลโล ถูกกระทำด้วยความหึงของเจ้า แม่ฮีรา เพราะเหตุเป็นที่ปฏิพัทธ์เสน่หาของ ซูส ต้องอุ้มครรภ์ หนีงู ไพธอน (Python) ของเจ้าแม่ ซอกซอนไปไม่มีที่จะให้ประสูติบุตรในครรภ์ได้จน ถึงเกาะดีลอส (Delos) เทพโปเซดอน มี ความสงสารบันดาลให้เกาะน้อยผุดขึ้นในทะเล นางจึงให้ประสูติอพอลโลกับอาร์เตมิส บนเกาะ นั้น ในทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา อพอลโลก็จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บางทีอพอลโลก็เป็นที่เรียก ขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า "ผู้ประหารไพธอน" นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน (Felian) ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า "โอภาส" หรือ "ส่องแสง" เป็นอาทิ ชื่อหลังนี้มัก ใช้บวกกับชื่อประจำว่า ฟีบัส 
อพอลโล เนือง ๆ

               เมื่อให้ประสูติบุตรแล้ว นางแลโตนาก็ยังไม่พ้นการรังควานของเจ้าแม่ฮีรา ต้องดั้นด้นเซซังต่อไปจนถึงแคว้น เคเรีย (Caria) ซึ่งอยู่ ในเอเซียไมเนอร์ปัจจุบันนี้ นางจำเป็นต้องหยุดพัก ณ ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งด้วยโรยกำลัง และขอดื่มน้ำจาก พวกชาวบ้าน ที่ออกมาถอนหญ้า คาอยู่ในบริเวณนั้น พวกชาวบ้านแทนที่จะสมเพชสงสารกลับ ไล่ตะเพิดและด่าทอนางด้วยคำ หยาบช้า ทำให้ซูสเทพบดีกริ้วจัดนัก ถึงแก่ สาปชาวบ้านเหล่านั้นให้กลายเป็นกบไปทั้งหมด ตำนานเรื่องนี้เห็นจะแสดงว่าใน ละแวกนั้นมีกบ ชุม และกบปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายจากชาว บ้านที่ถูกสาปเหล่านั้นก็เป็นได้

               อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร เธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย

              วิหารของเทพอพอลโลนั้น มีอยู่ดาษดื่นทั่วไปในประเทศแต่ที่สำคัญที่สุดได้แก่วิหาร ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส รูปอนุสาวรีย์ โคลอสซัส (Colosus) ที่เขาสร้างอุทิศแด่เธอ ณ เกาะ โรดส์ (Rhodes) นั้นเป็นสิ่งหนึ่งในสิ่งอัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกสมัยโบราณทีเดียว




Artemis
เทพเจ้าอาร์เทมีส 


          อาร์เทอมีส  หรือในภาคโรมันคือ ไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ ตำนานการกำเนิดกล่าวว่าเป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี

         เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุสเกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ทั้งต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุข และเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์  กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย    ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จความรัก

          ตำนานความรักของเทพีอาร์เทอมีสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม



  Hermes
เทพเจ้าเฮอร์เมส

               เฮอร์มีส  เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมัน ว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่า เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสาร พระองค์เป็นบุตรของเทพซุสเกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร และมีคถาคาดูเซียส (Caduceus) ซึ่งรูปร่างของคถาจะมีคถางูไขว้อยู่สองตัว เฮอร์มีสพบงูสองตัวนี้เมื่อเห็นมันสู้กันเลยเอาคถาทิ่มระหว่างงูสองตัวเพื่อห้ามไม่ให้เกิดความวิวาท งูเลยเลื้อยมาพันอยู่รอบไม้แล้วหันหัวเข้าหากันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส



 Athena
เทพีอธีนา
โฟกัสที่นกฮูกนะ....

            
เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง  และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีส ที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า

         นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และ เฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน  ชื่อเมืองเอเธนส์    ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่ง มหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน



 Aphrodite
เทพีอะโพร์ไดท์ 

             เทพีอะโพรไดท์หรือเทพีวีนัส เป็นเทพีแห่งเทพปกรณัมโรมันที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรักและความงาม หรืออีกชื่อคือ อโพรไดท์ (Aphrodite) แห่งเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นชายาของเทพวัลคัน (Vulcan) หรือเฮฟเฟสตุสเทพแห่งงานช่าง เทพีวีนัสตามตำราว่าเกิดขึ้นเองจากฟองทะเล ด้วยพระนามของพระนาง อะโฟรไดท์ นั้น มาจากคำว่า ‘Aphros’ที่แปลว่าฟอง ซึ่งมีตำนานว่าพระนางเกิดในทะเลใกล้เกาะไซเธอรา และถูกคลื่นซัดไปยังเกาะไซปรัส แต่บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพซุสที่เกิดจากจากนางอัปสรไดโอนี แต่ที่ตรงกันคือพระนางมีความงดงามที่ไม่มีใครเทียมได้แม้กระทั่งเทพธิดาด้วยกัน และสามารถสะกดใจผู้ชายทุกคนได้ภายในพริบตาแรกที่มองเห็นพระนาง อีกทั้งพระนางก็ชอบใจในความสวยงามของตนเองมากเสียด้วย พระนางจึงไม่ยอมเด็ดขาดหากใครจะกล้าล้ำเส้นเทพีความงามของพระนาง ด้วยแรงริษยาที่รุนแรงพอๆกับรูปโฉมสะสวยทำให้เทพีวีนัสเป็นที่หวาดหวั่นของเทพหลายๆองค์

          ในวันแรกที่เทพีวีนัสปรากฏตัวบนเขาโอลิมปัส เทพชายทุกองค์โดยเฉพาะเทพซุสเองก็อยากได้พระนางมาครอบครอง แต่เทพีวีนัสไม่ใช่หญิงสาวเรียบร้อยหัวอ่อนว่าง่าย ทำให้เทพซุสเกิดความโมโหและแก้เผ็ดพระนาง โดยจับพระนางแต่งงานกับเทพวัลแคนพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเทพวัลแคนชอบขลุกอยู่ในโรงงาน ก่อสร้าง และประดิษฐ์สิ่งต่างๆเนื้อตัวมอมแมม แถมยังเป็นเทพขาเป๋ ทำให้เทพีวีนัสโกรธเคืองอย่างมาก แต่พระนางก็กล้าทำในสิ่งที่เทพีอื่นๆ ไม่กล้า นั่นคือการคบชู้สู่ชายแบบตามใจชอบ




Hephaestus
เทพเจ้าเฮเฟสตัส 

      ฮีเฟสตัส  เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของซูส กับฮีรา (บางตำราว่าเป็นบุตรของฮีรา ผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ถูกซูสโยนลงจากสวรรค์เมื่อครั้งเข้าไปช่วยฮีรา จากการทะเลาะกับซูส   เนื่องด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถูกพระบิดาและมารดาทอดทิ้ง อีกทั้งพระชายาคือเทพีอโพรไดท์ยังดูแคลนจนกระทั่งไปมีชู้รักมากมาย รวมทั้งอนุชาร่วมอุทรของเทพฮีเฟสตัสเอง คือเทพอาเรสจนมีโอรสธิดาหลายองค์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีสายเลือดสวามีอัปลักษณ์องค์นี้แม้แต่องค์เดียว     ฮีเฟสตัสใช้เวลาช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขาไฟเอตนา มีไซคลอปส์เป็นคนงาน โดยสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น มีดังนี้   
  •     อาวุธของ อคิลลีส และ อีเนียส
  •    คทาของ อะกาเมมนอน
  •    สร้อยคอของ Harmonia ซึ่งผู้สวมใส่จะประสบเคราะห์ร้าย
  •    โล่ของ เฮราคลีส
          เทพฮีเฟสตัสมีรักครั้งแรกคือเทพีอะธีนา แต่พระนางไม่ตกลงปลงใจด้วย (คงเพราะเทพฮีเฟสตัสใช้กำลังพยายามลวนลามพระนาง) และเหตุนี้ทำให้เทพีอะธีนามุ่งมั่นจนกลายเป็น 1 ใน 3 เทพีครองพรหมจรรย์ 




 Dionysus
เทพเจ้าไดอะไนเซิล 
             ไดอะไนเซิส ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก “ไดอะไนเซิส” เป็นเทพเจ้าแห่งไวน์  ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ

             เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส

           ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า “ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว



_________________________________________________




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม